รายงานความก้าวหน้า

  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 7 (2562)
    Additional functions
  1. สามารถแสดงข้อมูลและส่งออกข้อมูลบรรณนานุกรมเพื่อใช้งานกับโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม (Citation)
  2. รองรับการทำ Metadata Harvesting ผ่านแหล่งข้อมูล Open Access ได้
  3. รองรับการยืมด้วยตนเองบนชั้นผ่านอุปกรณ์มือถือ (Mobile Check-out)
  4. รองรับการเพิ่มข้อมูลและให้บริการยืมคืนด้วยบัตรประชาชน
  5. สามารถจัดทำ QR-Code โดยผนวกข้อความ URL กับข้อมูลจากระบบได้
  6. สามารถยืนยันตัวตนบน Mobile Application แทนการใช้บัตรสมาชิกได้
  7. สามารถแจ้งเตือนข้อมูลผ่านทาง Line Application
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 6 (2559)
    Additional functions
  1. พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Web-based Application (ต่อเนื่อง)
    -  Cataloging Module, Circulation Module, System Administration Module
    -  Tools: การจัดทำบาร์โค้ด ลาเบล
  2. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
    -  การเชื่อมโยงข้อมูลสหบรรณานุกรม (Union Catalog Integration)
    -  ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
    -  สนับสนุนการให้บริการระบบยืมคืน (Inter Library Loan)
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 5 (2558)
    Additional functions
  1. พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Web-basedผ Application
    -  Cataloging Module
    -  Cataloging Module
    -  Circulation Module
    -  System Administration Module
    -  Searching Function
  2. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
  3. ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 4 (2555)
    Additional functions
  1. ปรับปรุงระบบสืบค้นข้อมูล
  2. รองรับการทำงานด้วยบัตรสมาชิก RFID Mifare
  3. รองรับการใช้งาน Webcam
  4. รองรับการแจ้งเตือนผ่าน SMS
  5. รองรับการทำแผนที่หนังสือ ที่ตั้งหนังสือ (Library Map)
  6. มีระบบการสืบค้นรวมระหว่างห้องสมุดที่ใช้ ALIST ด้วยกัน (ALIST Single Search)
  7. ฟังก์ชันเพิ่มเติม
  8. ฟังก์ชันเพิ่มเติมสำหรับโปรแกรม ALIST Windows-based Application
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 3 (2553) 
    Additional functions
  1. ปรับปรุงระบบสืบค้นข้อมูล พัฒนา OPAC 2.0 สนับสนุนการทำงานรูปแบบ Web 2.0 (Comment, Review, Rating)
  2. Webpage Management พัฒนาเครื่องมือให้ผู้ดูแลจัดการเว็บไซด์ของตัวเอง
  3. Mobile Search สืบค้นข้อมูลผ่านอุปกรณ์ iOS, Android, Windows Phone (Browser on Mobile)
  4. บริการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน SIP2 (SIP2 Protocol) สำหรับอุปกรณ์ยืมคืนด้วยตัวเอง (Self-Check Kiosk)
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 2 (2550) 
    Additional functions
  1. (New) Acquisition Module
  2. (New) Serial Control Module
  3. (New) System Administration Module
  • การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ระยะที่ 1 (2548) 
    Additional functions
  1. Cataloging Module
  2. Circulation Module
  3. OPAC Module

1. พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Web-based Application

Mobile App (iOS, Android)

 ระบบ ALIST สามารถสืบค้นผ่าน Application บน Smart Phone ได้ทั้งรองรับระบบปฏิบัติการ

    • iOS

 

    • Android

สามารถ Download : Application : ALIST OPAC ได้ที่  App Store และ Google play Store  ค้นหา ALIST OPAC

OPAC2.0

OPAC2.0 ถูกพัฒนาขึ้นจาก "ระบบการสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ" โดยใช้เทคโนโลยี Web 2.0 โดยเพิ่มประสิทธิภาพ OPAC และคุณลักษณะในการค้นหาของรายการโดยการควบคุมทางบรรณานุกรมมากขึ้นและรายการข้อมูลสำหรับการค้นหาต่อเนื่องรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ

นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีส่วนบุคคลและชุมชน ผู้ใช้สามารถทบทวนเพื่อให้การค้นพบสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กำหนดคำ (tag), ให้ Rating รายการทรัพยากรสารสนเทศที่สนใจ, วิจารณ์หนังสือ (review) และแสดงความคิดเห็นในรายการต่าง ๆ ได้ เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เสนอแนะความคิดเห็น(User Comment)ได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น และเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้ได้อีกด้วย ประกอบด้วย function การทำงานต่าง ๆ ดังนี้

  • iOPAC
  • Tag Cloud (การแสดงเขตข้อมูลที่ได้รับความนิยม)
  • My Friend (เพื่อนของฉัน)
  • My Share (การแบ่งปันของฉัน)
  • My List (รายการหนังสือของฉัน)
  • My Preferred (คำค้นของฉัน)
  • My Comment (แสดงความคิดเห็น)
  • Patron Data Manage (การจัดการข้อมูลสมาชิก)
  • Setting (การตั้งค่าของระบบ)
  • Statistic (สถิติและรายงาน)

ความเป็นมาของระบบห้องสมุด (ปรับปรุงเมื่อ พฤษภาคม 2554)

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes : ALIST) มีจุดกำเนิดมาจากแนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติขึ้นมา ใช้งานเองเพื่อทดแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ DYNIX (Commercial Software) โดยในปีพ.ศ. 2541 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 1.0 ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Basic 5.0/6.0 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 2.0 ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Visual Studio .NET เวอร์ชัน 2002 คู่กับระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE ในเวอร์ชันนี้ได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยี Web Services และได้เปิดตัวการสืบค้น OPAC ผ่านทาง Web Browser ทำให้สามารถเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเวอร์ชัน 3.0 เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยทางสกอ.ได้กำหนดข้อบังคับการพัฒนา(TOR) เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ปัจจุบันใช้งานที่ โรงเรียนมหาวชิราวุธ และโรงพยาบาลหาดใหญ่

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เวอร์ชัน 4.0 เป็นเวอร์ชันล่าสุดที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นระบบห้องสมุดสาขา และเพิ่มขีดความสามารถในด้านการสืบค้นผ่านโปรโตคอล Z39.50 และสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Union Catalog ปัจจุบันมีการใช้งานที่ คลิก

ข้อมูลเกี่ยวกับระบบ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes : ALIST) เป็นระบบบริหารจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับห้องสมุดทุกระดับตั้งแต่ห้องสมุดขนาดเล็กระดับโรงเรียน, วิทยาลัย, มหาวิทยาลัย หรือสำหรับห้องสมุดของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถรองรับทั้งรูปแบบห้องสมุดเดี่ยวและรูปแบบห้องสมุดสาขา โดยประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 6 โมดูล ซึ่งขณะนี้ทีมพัฒนาระบบได้พัฒนาจนถึง Version 4 และได้รับหนังสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

สถาปัตยกรรมการออกแบบระบบ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes : ALIST) มีการออกแบบในรูปแบบ multi-tiered architecture โดยพัฒนาโปรแกรมภายใต้Visual Studio .NET เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ORACLE โดยได้แบ่งเป็น 3 tier และได้ใช้ Web Services เพื่อให้บริการในจุดเชื่อมต่อและสามารถขยายขีดความสามารถการใช้งานได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนี้ระบบยังสนับสนุนการทำงานบนระบบจัดการฐานข้อมูล ORACLE 10gR2 (Commercial) หรือบน ORACLE XE (Freeware version)

 

งบประมาณการดำเนินงาน

Server/Software
Price (Baht)
Function
Web 150,000 Web Server
Database 450,000 DB Server
Windows 2016 ขึ้นไป 35,000 OS
Oracle 12c Database Standard Edition2 800,000 Database Software
รวม 1,435,000  

 

1,435,000s

Contact Us

สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่,
จังหวัดสงขลา.90110

Tel: 074-282120
Email: support@cc.psu.ac.th

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน คุณสามารถศึกษารายละเอียด นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ที่ Cookies Policy